Site stats 8 ผลลัพธ์ที่ได้จากการรับประทานเต้าหู้ – Limelight Media

8 ผลลัพธ์ที่ได้จากการรับประทานเต้าหู้

หนึ่งในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และหาทานได้ง่าย และยังเป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ที่ควบคุมอาหาร หรือกินเจ มังสวิรัติได้เป็นอย่างดี ก็คือ เต้าหู้ ซึ่งทำมาจากถั่วเหลืองทั้งเมล็ด ทำให้มีโปรตีนที่สูง และยังมีสารอาหารประเภทอื่นอีกมากมาย และในวันนี้ พวกเรามีเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานเต้าหู้มาฝากค่ะ

ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 

พบว่าไอโซฟลาโวน (Isoflavone) จากถั่วเหลือง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีลงได้ การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำในแต่ละวัน อาจลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (BMI) และคอเลสเตอรอลรวม ซึ่งองค์การอาหารและยาได้กำหนดให้โปรตีนถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวันเป็นการบริโภคขั้นต่ำที่จำเป็นต่อระดับคอเลสเตอรอล และการบริโภคเต้าหู้ยังเป็นทางเลือกแทนการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ ที่จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของหลอดเลือดและความดันโลหิตสูง

ลดความเสี่ยงในโรคมะเร็งเต้านม 

การตรวจสอบทางคลินิกและการทดลองหลายครั้งที่ชี้ให้เห็นว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) จากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่อาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากความสับสนในอดีตเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคถั่วเหลืองหลังการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม เนื่องมาจากไอโซฟลาโวนมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับเอสโตรเจน และเอสโตรเจนในระดับสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารจากถั่วเหลืองทั้งหมดในปริมาณปานกลางหรือน้อยกว่าสองมื้อต่อวัน ดูเหมือนจะไม่ส่งผลต่อการเติบโตของเนื้องอกหรือความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม 

ช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes)

ผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) มักเป็นโรคไต ซึ่งทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมากเกินไป และหลักฐานจากการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่าผู้ที่บริโภคโปรตีนถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวในอาหาร มีการขับโปรตีนน้อยกว่าผู้ที่บริโภคโปรตีนจากสัตว์

เสริมการทำงานของไต

โปรตีนจากถั่วเหลือง ช่วยเสริมการทำงานของไต และมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้รับการฟอกไตหรือการปลูกถ่ายไต จากแร่ธาตุที่มีอยู่ในเต้าหู้ เช่น โปรตีน ฟอสฟอรัส 

โรคกระดูกพรุน

ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองอาจช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก เพิ่มความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก และลดอัตราเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้โดยเฉพาะวัยหลังหมดประจำเดือน 

อาการของวัยหมดประจำเดือน

การบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอาจช่วยบรรเทาอาการของวัยหมดประจำเดือนได้ เช่น อาการร้อนวูบวาบ 

บำรุงสมอง

เต้าหู้ เป็นอาหารที่ช่วยในเรื่องของสมองและความจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เลซิติน (Lecithin) ที่มีอยู่ในเต้าหู้ช่วยให้ร่างกายผลิตกรดฟอสฟาติดิก (PA) และฟอสฟาติดิลซีรีน (PS) ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ประสาทให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ช่วยลดผมร่วง

เนื่องจากในเต้าหู้นั้นอุดมไปด้วยเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผม มีคุณสมบัติป้องกันปัญหาผมร่วง เสริมสร้างให้รากผมแข็งแรง

หนึ่งในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และหาทานได้ง่าย และยังเป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ที่ควบคุมอาหาร หรือกินเจ มังสวิรัติได้เป็นอย่างดี ก็คือ เต้าหู้ ซึ่งทำมาจากถั่วเหลืองทั้งเมล็ด

Advertisements